ประเภทและลวดลาย

ผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ นั้นจะมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์กว่าจังหวัดอื่น เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์ใด้รับวัฒนธรรมของชาวเขมรโดยส่วนมาก ซึ่งลักษณะของเส้นไหมที่ใช้ก็นิยมเป็นไหมน้อย ที่มีลักษณะ เล็ก เรียบ นิ่ม เมื่อสวมใส่จะทำให้รู้สึกเย็นสบาย จังหวัดสุรินทร์มักจะทอผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายที่สลับชับซ้อน เช่น ลายประวัติศาสตร์ ลายเวชสันคร เป็นเรื่องเป็นราวที่ซึ่งคุณค่า อีกทั้งเน้นการทอผ้าที่เเน่น เพื่อให้ได้เนื้อผ้าหนาและดัดแปลงผสมผสานลวดลายเข้าด้วยกัน เช่น การมัดหมี่ พร้อมยกด้อก หรือที่เรียกว่า ผ้าไหมมัดหมี่ยกดอกลายลูกแก้ว คือทอผ้ามัดหมี่ลายทั่วๆ ไปพร้อมยกดอกในตัว ซึ่งการยกดอกหลายตะกอล้วนเป็นกรรมวิธีที่ยาก ต้องใช้ความชำนาญจริง ๆ ในประเทศไทยไม่มีจังหวัดไหนทำ และผ้ายกดอกของจังหวัดสุรินทร์ หรือที่เรียกว่า ลายลูกแก้ว เป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในอดีตพระองค์ทรงขอซื้อทุกผื้นที่ราษฎรจังหวัดสุรินทร์นำขึ้นประกวดฯ ถึงแม้ว่าบางผืนจะไม่ได้รับรางวัลก็ตาม พระองค์ทรงรับสั่งว่าใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้มือในการทออีกด้วย

           ประเภทของลวดลายไหมจังหวัดสุรินทร์

1. ลายมัดหมี่ สามารถจำแนกหมวดหมู่ได้ 5 ลักษณะ ดังนี้

1. ลายดอกไม้หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช             

2. ลายสัตว์ซึ่งเป็นลวดลายของการนำโครงร่างของสัตว์มาออกแบบ

3. ลายเรขาคณิตซึ่งนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาออกแบบ

4. ลายสมัยใหม่เป็นการออกแบบคล้ายกับลายเรขาคณิตแต่ไม่ได้เป็นรูปทรงเรขาคณิตและมีการจัดองค์

ประกอบของลวดลายใหม่

5. ลายภาพจริง เป็นการนำเรื่องราวและสิ่งรอบตัวมาออกแบบลวดลาย สำหรับการมัดลายมัดหมี่ คือ การมัด

ให้เป็นลายแล้วย้อมสีก่อนที่จะนำมาทอ ที่นิยมในปัจจุบัน เช่น มัดหมี่ลายโฮล ที่มีการมัดย้อมเส้นพุ่งด้วย

วิธีการด้วยวิธีการเฉพาะโดดเด่น

           2. ลายตรงหรือลายโครงสร้าง เช่น ลายสมอ ลายสาคู หลายอันลูยซิน ลายสาหร่าย เป็นต้น

           3. ลายยกดอก ซึ่งมีลักษณะทำให้เกิดการนูนของลวดลายขึ้นมาหลาย ลายยกดอกปัจจุบันนิยมยกตะกอด้วยมือ ที่นิยม

เช่น ลายละเบิก ลายดอกพิกุล ลายลูกแก้ว หรือลายชน๊ดลึก เป็นต้น

           4. ลายหางกระรอก มีลักษณะของผ้าลวดลายนี้จะเป็นการควบเส้นไหม 2 สีเข้าด้วยกัน นิยมทอเพื่อให้เส้นไหมมีความ

หนามากขึ้น

           5. ลายพื้นเรียบ เป็นการทอเส้นพุ่ง 1 สี และเส้นยืน 1 สีเพื่อเกิดความมันวาว

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *