ทักษะการทออันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์

การทอผ้าโฮล แตกต่างจาก ผ้ามัดหมี่

โดยท้องถิ่นอีสานเหนือ กล่าวคือ อีสานเหนือ เมื่อถึงขั้นตอนของการจัดเตรียมแบ่ง กลุ่มเส้นพุ่งออกเป็นเปลาะๆ เพื่อใช้มัดเป็นลวดลายก่อน นำไปย้อม ซึ่งในภาษาอีสานเหนือเรียก “ลำ” นั้น ช่างทอ ได้จัดเตรียมให้ยาวต่อเนื่องกันไปตั้งแต่ต้นจนจบ โดยเส้น พุ่งของลำที่ ๑ เชื่อมต่อกับเส้นพุ่งลำที่ ๒ เส้นพุ่งของลำที่ ๒ เชื่อมต่อกับเส้นพุ่งของลำที่ ๓ เป็นดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่ง ถึงลำสุดท้าย

แต่ อีสานใต้ ในขั้นตอนเดียวกันนี้ การจัดเตรียมแบ่ง กลุ่มเส้นพุ่งออกเป็นเปลาะเพื่อใช้มัดย้อมให้เกิดลวดลาย เส้นพุ่งแต่ละเปลาะซึ่งมี ชื่อเรียกในภาษาเขมรท้องถิ่นว่า “คนัร” แยกเป็นอิสระออกจากกันไม่มีเส้นพุ่งของคนัร ใด เชื่อมต่อกันเลย การใช้ ผ้าโฮล จะมีการแบ่งลวดลายโฮลชัดเจน ระหว่างบุรุษ และสตรี รูปแบบการทอผ้าโฮลโบราณของ บุรุษ “โฮลเปราะฮ์” คล้ายกับ “ผ้าปูม” หรือ “ผ้าสมปัก”ของขุนนางในราชสำนักสยาม ที่ลวดลายในท้องผ้าเป็นลักษณะบ่งชี้ถึงยศศักดินา และสีพื้นจะระบุกรมกองสังกัดของผู้ใช้นุ่งห่ม หากเป็นแบบที่สตรีใช้นุ่ง จะทอแปลงเป็นลายริ้ว เรียกว่า “โฮลเสร้ย” ปัจจุบัน นิยมใช้ในงานมงคลหรือพิธีกรรมสำคัญนิยมใช้กับสาวแรกรุ่นมากกว่าผู้สูงอายุ เช่น นุ่งในพิธีแต่งงาน หรืออาจใช้เป็นของไหว้สำหรับญาติผู้ใหญ่อาจเย็บเชิงซึ่งเรียกว่า “ปะโบร์” ซึ่งถือเป็นผ้าพิเศษ ผ้านุ่งโฮลที่มีปะโบร์เป็นเชิงนั้นเหมาะสำหรับผู้หญิง